ความร่วมมือคืออะไร
นิยามของความร่วมมือ คือ กระบวนการที่คนสองคนขึ้นไป ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุผลของงาน หรือ บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ความร่วมมือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จของธุรกิจและความมีประสิทธิผลในสถานที่ทำงาน ความร่วมมือเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดนำมาสู่ผลิตภาพที่สูงขึ้น การเติบโตและผลลัพธ์ที่ดีกว่า
Steve-Jobs-กล่าวไว้ว่า
ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในธุรกิจ ไม่สามารถดำเนินการด้วยใครเพียงคนเดียว ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทีม
ความร่วมมือแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะดังนี้
1.ความร่วมมือในแบบทีม (Team collaboration)
ความร่วมมือในลักษณะนี้ คือ การที่คนในทีมแบ่งปันความรู้หรือทำงานร่วมกัน ทุกคนในทีมรู้จักกันดี พวกเขานำทักษะมาร่วมกัน เพื่อผลักดันสู่เป้าหมายเดียวกัน มีผู้นำทีมที่จะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารและร่วมมือ ทุกคนมีโอกาสที่จะนำจุดแข็งของตนและทักษะเพื่อดำเนินโครงการร่วมกัน ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทุกคนทุ่มเท และ นำทักษะ มาผลักดันให้โครงการสำเร็จ และ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
2.ความร่วมมือข้ามหน่วยงาน (Cross-functional collaboration)
คือ ความร่วมมือของทีมงานข้ามแผนกในองค์กรเดียวกัน เพื่อร่วมมือกันดำเนินโครงการเดียวกัน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ และทีมดำเนินการอื่น ก็จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จนไปสู่มือลูกค้า เช่น ทีมตลาดก็ออกแบบโปรแกรมการตลาดที่เน้นคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ บริษัทฯที่สามารถพัฒนาความร่วมมือในลักษณะนี้ได้ดีก็จะสามารถขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
3.ความร่วมมือเชิงชุมชน (Community collaboration)
คือ ความร่วมมือที่เกิดจากแต่ละบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน แนวคิดเบื้องหลังความร่วมมือนี้ คือ การที่แต่ละคนจะได้เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกัน แทนที่จะร่วมกันทำงานให้สำเร็จ ซึ่งความร่วมมือนี้จะทลายไซโลในองค์กร เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ความร่วมมือลักษณะนี้อาจเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร สำหรับความร่วมมือเชิงชุมชนในองค์กรภายนอก เช่น SEO manager จะอยู่ในชุมชนของ SEO มืออาชีพ ซึ่งจะสามารถซักถามถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญในการทำงาน ตลอดจนได้รับคำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปแจ้งทีมในองค์กร
4.ความร่วมมือเชิงสังคม (Social collaboration)
คือ การที่สมาชิกทีมร่วมกับสมาชิกทีมอื่น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้จะนำทักษะและประสบการณ์ ของสมาชิกแต่ละทีมในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งรวมถึงการสื่อสารระหว่างสมาชิกในทีมเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีความสนใจร่วมกัน
5.ความร่วมมือในสังคมเสมือน (Virtual Collaboration)
แพลตฟอร์มด้านดิจิทัล มีการพัฒนาไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความร่วมมือในสังคมเสมือนกลายเป็นเรื่องปกติของพนักงานทั่วโลก ความร่วมมือในสังคมเสมือนนี้ทำให้แต่ละคนทำงานร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน สิ่งสำคัญคือ องค์กรต้องให้ความสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซอฟต์แวร์อาจช่วยหรือทำลายประสิทธิภาพของธุรกิจ
“คุณกำลังมองหา ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยในการทำงานเป็นทีม ติดตามความก้าวหน้าของผลงานรายไตรมาส บริหารผลงานพนักงาน งาน และอื่นๆ ลองทดลองใช้ profit.co -OKR software ที่บริษัทชั้นนำเลือกใช้”
6.ความร่วมมือบนคลาวด์ (Cloud collaboration)
คือ ความร่วมมืออีกแบบหนึ่งในสังคมเสมือน ผ่านระบบคลาวด์ ซึ่งพนักงานทำงานบนเอกสารเดียวกันผ่านสถานที่ทำงานที่แตกต่างกัน ไฟล์มีการปรับปรุงข้อมูลตลอดเวลา ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงและทำงานบนไฟล์เดียวกันในขณะเดียวกัน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี
ทำไมความร่วมมือในการทำงานจึงสำคัญ?
ความร่วมมือในการทำงาน ช่วยเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน เพิ่มการเรียนรู้ของพนักงาน ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ช่วยทำให้วิสัยทัศน์องค์กรมีความชัดเจนและนำไปสู่การปฎิบัติ
7 เทคนิค ในการสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือในที่ทำงาน
การสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือกันในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย องค์กรจำเป็นต้องทุ่มเทเพื่อสร้างโอกาสให้พนักงานในแต่ละทีม ได้ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกัน องค์กรต้องมีความเชื่อว่าวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือ พนักงานจะนำทักษะเฉพาะตัวที่โดดเด่น มาพัฒนางานร่วมกัน เพื่อให้พนักงานทุกคน และองค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง สำหรับกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรมีดังนี้
1.การแบ่งปันความรู้ (Sharing knowledge)
การแบ่งปันความรู้เป็นกลยุทธ์อันดับหนึ่งสำหรับองค์กรในการช่วยพัฒนาทักษะพนักงานและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกัน จริงๆแล้วเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นมักจะไม่มีเวลาในการแบ่งปันความรู้และเทคนิคให้กับสมาชิกในทีม เนื่องจากมุ่งเน้นในการเพิ่มผลิตภาพและการที่จะบรรลุความสำเร็จ
ดังนั้นองค์กรควรทำให้การแบ่งปันความรู้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ตลอดกระบวนการทำงาน หรือ ออกแบบระบบที่พนักงานสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีการบันทึกถึงกระบวนการที่แก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
OKRs เป็นแนวทางหนึ่งที่ไม่เพียงช่วยให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ แล้ว แต่ยังสามารถที่จะบันทึกแนวทางหรือกระบวนการในการแก้ไขปัญหานั้น
2.มีความโปร่งใส (Being transparent)
องค์กรต้องส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใส การแบ่งปันความรู้ ข้อมูลและข่าวสาร เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งดีๆจะไม่สามารถเกิดขิ้นได้จากการทำงานแบบไซโล ซึ่งในที่สุดจะทำให้ขาดการไหลเวียนของข้อมูลและการสื่อสาร
3.สร้างพื้นที่แห่งการทำงานร่วมกัน (Creating spaces for collaboration)
องค์กรที่เชื่อในเรื่องวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือควรสร้างสถานที่ให้พนักงานทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นพื้นที่ๆแบ่งเป็นกลุ่มให้พนักงานระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดใหม่ ควรเป็นที่ๆแต่ละทีมสามารถมาอยู่ร่วมกัน โดยมีการตกแต่งในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีไวท์บอร์ดหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการลื่นไหลของข้อมูลและความคิด
เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานระยะไกล อาจมีการทำงานร่วมกันผ่าน Zoom หรือ Microsoft Team และ Breakout group เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในกลุ่มพนักงาน
4.เตรียมเครื่องมือให้พร้อมสำหรับความร่วมมือ (Providing tools that enable collaboration)
องค์กรต้องส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือสำหรับทีมโดย เตรียม ซอฟท์แวร์ เทคโนโลยีและกระบวนการให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับทีมในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
5.การสร้างความไว้วางใจ (Establish trust)
องค์กรที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือให้เกิดขึ้นจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจ การสร้างความร่วมมือกันโดยที่ขาดความไว้วางใจระหว่างพนักงานและทีมผู้บริหาร และ ระหว่างพนักงานกันเอง ย่อมทำให้วัฒนธรรมแห่งความร่วมมือไม่ประสบความสำเร็จ
6.การสื่อสาร (Communication)
ทีมและพนักงานจำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างกันอย่างมีประสิทธิผล เมื่อมีความคิดใหม่และถูกสื่อสารไปยังพนักงานแต่ละคนในองค์กร ต้องทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจในการที่จะถ่ายทอดความคิดใหม่ๆ ออกมาและมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ
7.การสร้างความมีส่วนร่วม (Create engagement)
พนักงานจะมีความเต็มใจที่จะร่วมมือกับเพื่อนพนักงาน หากเขารู้สึกว่ามีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในงานนั้น การที่พนักงานมีส่วนร่วมในองค์กรสูง ช่วยสร้างความเป็นเจ้าของ ทุ่มเทในงานและองค์กรก็เห็นคุณค่าในความคิดเห็นของเขา สิ่งนี้ทำให้พนักงานรู้สึก เชื่อม กับองค์กร กับเพื่อนร่วมงานและทำให้เกิดความร่วมมือกับเพื่อนร่วมทีม
สรุป
มนุษย์เราถูกออกแบบให้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม และ ทำงานร่วมกัน องค์กรต้องส่งเสริมคุณสมบัตินี้และสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือในการทำงาน ความลับขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ คือ นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือ มิใช่การทำงานแบบไซโล การสร้างพื้นที่และสิ่งแวดล้อมให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย ยกย่อง และ มีความเป็นมิตร จะช่วยสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือให้เกิดขึ้น
Admin หวังว่าเนื้อหาใน EP นี้ จะเป็นประโยชน์ในการทำให้พวกเราชาว HR สามารถสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือในองค์กรของตนได้สำเร็จ
สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่
เครดิตบทความ https://www.profit.co/blog/task-management-blog/how-to-bring-a-culture-of-collaboration-at-the-workplace/